หัวข้อ 5 เคล็ดลับในการหาพันธมิตรด้านอุตสาหกรรมที่เหมาะสม

Industrial-partners-protoneurope

Industrial-partners-protoneurope

ทุกคนคงไม่ได้อยากให้มีใครพร่ำบอกอีกว่า การหาพาร์ตเนอร์เพื่อร่วมมือในธุรกิจภาคอุตสาหกรรมนั้นมีประโยชน์และความจำเป็นขนาดไหน คำถามที่ถูกต้องคือ ทำอย่างไรถึงจะหาพาร์ตเนอร์ หรือผู้ร่วมธุรกิจที่ถูกต้องเหมาะสมมากกว่า

มาดูเคล็ดลับ 5 ข้อสำคัญที่จะช่วยให้เราค้นหาพาร์ตเนอร์ที่ต้องการได้

วางแผนสำรวจจุดอ่อน

ต้องมีแผนยุทธศาสตร์ มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า จะนำเทคโนโลยีหรือสินค้าของแต่ละฝ่ายมาร่วมกันอย่างไร เช่น เรามีสินค้า ส่วนอีกฝ่ายมีช่องทางการตลาด หรือมีเงินทุน การร่วมมือเพื่อกลบจุดอ่อนของกันและกัน ย่อมจะช่วยให้เดินทางไปด้วยกันได้ไกล แต่ปัญหาคือ หลายคนไม่ทราบว่า จุดอ่อนของเราคืออะไร ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำวิจัยในบริษัทหรือธุรกิจของเราเอง เพื่อค้นหาว่าอะไรบ้างที่เราขาดอยู่ ต้องการให้มาต่อเติมให้สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น เรามีความคิด มีเค้าโครงของกิจการ แต่ยังขาดพื้นที่ ขาดที่ปรึกษา ขาดอุปกรณ์ เครื่องมือ คนที่จะดูแลเครื่องจักร หรือขาดเงินทุน สิ่งเหล่านี้ Partners ต้องสามารถช่วยได้

ปรับวิธีคิด (และเขียน) เหมือน Tech Scout

เพราะเป็นสายงานที่รับผิดชอบด้านการมองหาเทคนิค และต้องคอยเสนออะไรใหม่ๆ ให้น่าตื่นเต้น ก็เหมือนกัน เรื่องนี้เราสามารถปรับใช้ในการหาพาร์ตเนอร์ที่น่าสนใจได้

อธิบายคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่เสนอ ดูว่ามันจะลงตามความต้องการตรงไหน และเข้ามาทดแทนอะไรในตลาด

ยกตัวอย่างให้เห็นว่า จะเข้าไปปรับปรุงปัญหาอะไรในตลาดในเวลานี้ หรือสร้างความประทับใจกับพาร์ตเนอร์ ด้วยการหาเหตุผลสนับสนุนว่า เหตุใดเทคโนโลยีที่เรามีจะได้รับความสนใจในตลาด หรือควรได้รับการพิจารณา และไม่กลัวที่จะพูดถึงด้านเทคนิคในเชิงลึกที่ละเอียด เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันดีและแตกต่างจากในตลาดอย่างไรบ้าง

รายระเอียด ของเทคโนโลยี Technology description

ต้องระบุอย่างระเอียด ว่าอยู่ในขั้นตอนไหนของการพัฒนา – โดยมีหลักฐานความเป็นมาของความคิด ผลการวิจัย และความพร้อมในการตลาด และไม่ลืมที่จะระบุตลาดเป้าหมาย และคู่แข่งอื่นๆ ด้วย

ทำเป้าหมายในด้านความร่วมมือชัดเจนและน่าดู

การหาเงินเป็นเรื่องยากอยู่แล้ว ต้องตระหนักว่า พาร์ตเนอร์ที่ร่วมงานในสายอุสาหกรรมนั้น ส่วนมากจะมองผลตอบแทนในระยะยาว ว่าเทคโนโลยีที่คุณมีจะช่วยตอบโจทย์เขาได้แค่ไหน ฝ่ายเราต้องนำเสนอให้ยิ่งใหญ่ ชัดเจนว่าต้องการอะไรจากอีกฝ่าย เราสามารถพูดถึงเรื่องเงินทุนที่ต้องใช้ได้ แต่ต้องให้แผนมันสอดคล้องกับ Mission ในการพัฒนาด้วย

สุดท้าย เมื่อได้ Partner มาร่วมงานแล้ว ก็ควรให้มีการประชุมบ่อยๆ โดยกำหนดวันเวลาแน่นอนเพื่อให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง ระหว่างคุณกับฝ่ายร่วมงานใหม่ จะต้องมีการติดตามผลความคืบหน้าและมีการแสดงผลการตอบรับ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดระหว่างกัน ในเมื่อคุณได้ลงทุนใช้เวลาในการดำเนินการในเรื่องนี้ไปแล้ว