Venture-Capital-Protoneurope

นักลงทุน VCs และผู้ประกอบการ VCs

การร่วมทุนในธุรกิจ หรือ Venture Capital (VC) เป็นลักษณะการร่วมทุนที่เริ่มขึ้นโดยกลุ่มนักลงทุนหลายคนที่มีชื่อเสียงตั้งแต่ยุค 70 ซึ่งก็มีผู้ประสบความสำเร็จในแวดวงนี้หลายคนเช่น Gene Kleiner และ Tom Perkins Ma Andreessen บุคคลเหล่านี้คือต้นแบบของการร่วมทุนในบริษัทแบบ VC ซึ่งต่อมาได้นำไปสู่การกำเนิดของ Silicon Valley ที่ยิ่งใหญ่ในอเมริกาอย่างในทุกวันนี้ แล้ว VC คืออะไร มันคือการนำเงินลงทุนเข้าร่วมถือหุ้นในบริษัท เป็นรูปแบบการทำธุรกิจในสไตล์อเมริกันที่นิยมกันมาก ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการเปิดบริษัทหรือขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น ก็ต้องการขยายเงินทุนเพิ่มเติม แต่เมื่อไม่มีมากพอ จึงต้องไปชักชวนคนอื่นๆ ให้มาร่วมลงทุนด้วย แล้วคนเหล่านี้ก็จะได้หุ้นของบริษัทที่ลงทุนไว้ เมื่อถึงเวลาที่บริษัทมีกำไร ก็จะแบ่งกันตามสัดส่วนของการถือหุ้นแตกต่างกันไป แต่ก็ไม่ได้แปลว่า VC จะถือหุ้นตลอดไป เพราะเมื่อลงทุนไประยะหนึ่ง ก็จะมีการถอนตัวออกไปหาการลงทุนอื่นๆ หรือโดยส่วนมากแล้ว ถ้าบริษัทนั้นๆ สามารถเข้าไปลงทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ก็จะขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะทำให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่านั่นเอง แต่ถ้าเข้าตลาดหุ้นไม่ได้ ก็มีแนวโน้มที่ภายใน 2-3 ปี ผู้ถือหุ้นเหล่านี้จะถอนตัวออก หรือขอซื้อหุ้นคืนตามแต่ตกลงไว้ทีแรก ลักษณะนี้ จึงเหมาะสมกับผู้มีหัวคิดสร้างสรรค์ในธุรกิจใหม่ๆ ที่น่าสนใจและมีเงินทุนไม่มากนัก จึงต้องมองหานายทุนหรือผู้ร่วมลงทุนอื่นๆ มาร่วมกันด้วย แล้วสำหรับผู้มองหาโอกาส […]

Read More »

naac-book-protoneurope

คู่มือสำหรับสมาคมแห่งชาติในการถ่ายทอดความรู้

คณะกรรมการที่ปรึกษาของ The NAAC (National Association) เป็นคณะกรรมการถาวร ของ ASTP-Proton ซึ่งเป็นที่รวมของเจ้าหน้าที่ ตัวแทนของสมาคมระดับชาติ NA ทั้งหมดในยุโรป และยังเป็นสมาคมที่จัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยเหลือบรรดาสมาคมหรือองค์กรที่กำลังจะจัดขึ้นมาใหม่ โดยทาง NAAC จะเป็นฝ่ายให้การสนับสนุนให้เกิดการประสานงานกันระหว่างหมู่สมาชิก และให้เป็นศูนย์กลางสำหรับการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน หรือหารือร่วมกันระหว่างสมาชิก อาทิเช่น นโยบายทางด้านงานวิจัยในภาคพื้นยุโรป พร้อมทั้งให้มีการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ การริเริ่มใหม่ๆ โดยมีการหาข้อมูล และทำการประเมินและตัววัดผลอันเกิดจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในสมาคม นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่ ให้สมาชิกมีการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ในระหว่างที่ดำเนินการบริหารสมาคมระดับชาติของตน ในปัจจุบัน ได้มีการยอมรับให้ส่วนที่เป็นระดับท้องถิ่น หรือระดับภูมิภาคและระดับชาติ ได้เข้ามาร่วมมือกัน ทั้งนี้ เพื่อกำหนดนโยบายส่งเสริมและพัฒนาความคิดริเริ่มเข้ากับงานด้านเศรษฐศาสตร์ของยุโรป แล้วได้พบว่าส่วนมากแล้วหน่วยงานของรัฐ มักเจอปัญหาและความท้าทายคล้ายกันในหลายประเทศ แต่ปัญหาเหล่านั้นมักไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมหรือรวดเร็วมากพอ ทำให้เกิดความจำเป็นที่ต้องประสานงานกันมากขึ้นในกลุ่ม KTO และทุกฝ่ายจะสามารถรวมเป็นเสียงเดียวเมื่อเจรจากับรัฐบาล สำนักงาน มหาวิทยาลัย ฯลฯ ซึ่งมีหลายประเทศที่มีสมาคมระดับชาติ NA มากกว่าสองแห่ง ที่เป็นสมาชิก KTO ปัจจุบัน มีสมาคมทั้งหมด 29 สมาคมระดับชาติ […]

Read More »

invest-horizon-protoneurope

ความสำเร็จของ SMEs ในโครงการ Invest Horizon

ทุกวันนี้ การประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือ SMEs ถือว่าเป็นฟันเฟืองที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของทวีปยุโรปและอเมริกาเหนืออย่างมาก เพราะครอบคลุมมากกว่า 99% ของธุรกิจเกือบทั้งหมด แต่ในสภาวะที่ยุโรปกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุด นับตั้งแต่ยูโรโซน มาตรการและแนวทางต่างๆ เริ่มเกิดขึ้นเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ทาง European Commission หรือ EU จึงยอมรับว่าหากจะสามารถอยู่รอดในสภาพเช่นนี้ได้ จะต้องดำเนินการหลายอย่าง เช่น การสร้างงาน สร้างความเชื่อมโยงทางสังคม เพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนใน SME ที่มาของโครงการ Invest Horizon Program เป้าหมายสูงสุดของโครงการนี้คือ ช่วยกระตุ้นและเปิดตัวให้นักลงทุนและเจ้าของกิจการ SME ทั้งหมดในปี 2015 ที่ผ่านมาได้ออกสู่สายตาของนักลงทุนและตลาดภายนอก เปิดโอกาสให้ได้รับทุนหรือผู้สนับสนุนเพิ่มเติมได้ แล้วทางหนึ่งยังเป็นโอกาสที่จะทำให้ตลาด SME ที่ค่อนข้างกระจัดกระจายให้เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น โครงการนี้กำหนดขึ้นมาเพื่อการนำให้ SME เป็นแหล่งทุนที่พร้อมจะช่วยการลงทุนกับสิ่งที่แตะต้องได้และใช้การได้ โครงการมีทุนที่นำมาคู่กับเงินของ European Commission และ Partners โดยจัดให้มีงบแบ่งจ่ายออกมาเป็นจำนวน €2.3 ล้านภายในระยะเวลาสองปีครึ่ง โครงการ Invest Horizon ต้องการเข้ามาร่วมการลงทุนกับฝ่ายหน่วยงานที่มีประสบการณ์สูงที่สุดในยุโรป เช่น Europe Unlimited, EBAN, Tilburg University, และ ASTP […]

Read More »

10-clinical-trial-protoneurope

10 Clinical Trial Blogs You Should Know About

มักจะมีการพูดกล่าวกันว่า “คุณเป็นในสิ่งที่คุณอ่าน”  แม้ว่าอาจไม่ได้เป็นอย่างนั้นทั้งหมด แต่ลักษณะของข้อมูลใดๆ ที่คุณไปเปิดรับมา ก็จะจัดให้คุณเป็นคนในแบบนั้น ทั้งด้านการพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะในชีวิตส่วนตัว หรือหน้าที่การงานและสายอาชีพ ดังนั้น ในถานะที่เป็นคนต้องการที่จะเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การลองใช้ Clinical blogs ดิฉันมักจะอ่านบทความ ที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ รวมถึงจะไปอ่านในเรื่องอื่นๆ อีกด้วย ทั้งนี้ จึงอยากจะมาแบ่งปันในความรู้จากอ่านข้อความ ของการวิจัยทดลองของด้าน Clinical ที่เห็นว่ามีประโยชน์ ดังนี้ 1.Lilly Clinical Open Innovation (LCOI) Blog ถ้าเป็นคนชอบเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ควรพลาด เป็นแหล่งรวมของทีมงาน LCOI โดยให้มีการคุยหารือกันอย่างเปิดกว้างเพื่อให้ก่อเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้มีความเปิดกว้าง 2.Applied Clinical Trials รวมบทความจาก บรรณาธิการ Lisa Henderson ซึ่งนำความคิดจากผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายในวงการอุสาหกรรม มาไว้ด้วยกัน 3.Molecule – Medicines (Scientific American) รวมบทความของนายแพทย์ Judy Stone ซึ่งบทความแนะนำวิทยาศาสตร์การแพทย์โมเกกุลและการดูแลสุขภาพ มีข้อมูลที่ท้าทายความคิดมาก 4.Placebo Control ผลงานของ Paul […]

Read More »

Industrial-partners-protoneurope

หัวข้อ 5 เคล็ดลับในการหาพันธมิตรด้านอุตสาหกรรมที่เหมาะสม

ทุกคนคงไม่ได้อยากให้มีใครพร่ำบอกอีกว่า การหาพาร์ตเนอร์เพื่อร่วมมือในธุรกิจภาคอุตสาหกรรมนั้นมีประโยชน์และความจำเป็นขนาดไหน คำถามที่ถูกต้องคือ ทำอย่างไรถึงจะหาพาร์ตเนอร์ หรือผู้ร่วมธุรกิจที่ถูกต้องเหมาะสมมากกว่า มาดูเคล็ดลับ 5 ข้อสำคัญที่จะช่วยให้เราค้นหาพาร์ตเนอร์ที่ต้องการได้ วางแผนสำรวจจุดอ่อน ต้องมีแผนยุทธศาสตร์ มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า จะนำเทคโนโลยีหรือสินค้าของแต่ละฝ่ายมาร่วมกันอย่างไร เช่น เรามีสินค้า ส่วนอีกฝ่ายมีช่องทางการตลาด หรือมีเงินทุน การร่วมมือเพื่อกลบจุดอ่อนของกันและกัน ย่อมจะช่วยให้เดินทางไปด้วยกันได้ไกล แต่ปัญหาคือ หลายคนไม่ทราบว่า จุดอ่อนของเราคืออะไร ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำวิจัยในบริษัทหรือธุรกิจของเราเอง เพื่อค้นหาว่าอะไรบ้างที่เราขาดอยู่ ต้องการให้มาต่อเติมให้สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น เรามีความคิด มีเค้าโครงของกิจการ แต่ยังขาดพื้นที่ ขาดที่ปรึกษา ขาดอุปกรณ์ เครื่องมือ คนที่จะดูแลเครื่องจักร หรือขาดเงินทุน สิ่งเหล่านี้ Partners ต้องสามารถช่วยได้ ปรับวิธีคิด (และเขียน) เหมือน Tech Scout เพราะเป็นสายงานที่รับผิดชอบด้านการมองหาเทคนิค และต้องคอยเสนออะไรใหม่ๆ ให้น่าตื่นเต้น ก็เหมือนกัน เรื่องนี้เราสามารถปรับใช้ในการหาพาร์ตเนอร์ที่น่าสนใจได้ อธิบายคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่เสนอ ดูว่ามันจะลงตามความต้องการตรงไหน และเข้ามาทดแทนอะไรในตลาด ยกตัวอย่างให้เห็นว่า จะเข้าไปปรับปรุงปัญหาอะไรในตลาดในเวลานี้ หรือสร้างความประทับใจกับพาร์ตเนอร์ ด้วยการหาเหตุผลสนับสนุนว่า เหตุใดเทคโนโลยีที่เรามีจะได้รับความสนใจในตลาด หรือควรได้รับการพิจารณา […]

Read More »

ความหมายของการปฏิบัติที่ดี หรือ Good, Best Practice

Best Practice คือการกระทำสิ่งใดก็ตามให้สำเร็จ อันเนื่องมาจากการนำความรู้ไปใช้ในกระบวนการ แล้วสรุปออกมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ในส่วนของ  Good Practice นั้นจะมีความหมายใกล้เคียงกับ Best Practice แต่จะมีความหมายที่กว้างกว่าโดยส่วนมากจะใช้ในการปฏิบัติงานในองค์กร หรือบริษัทให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Good Practice หรือ Best Practice เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยยกระดับความคิดให้มีความแตกต่าง มีความหลากหลายในมุมมองมากขึ้น การทำงานสามารถทำให้เกิด Good Practice หรือ Best Practice ได้ Good Practice หรือ Best Practice ในหน่วยงานสามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีต่างๆ ดังนี้ เกิดจากตัวบุคคล เนื่องมาจากในการทำงาน ทุกคนจะเกิดการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายของหน่วยงาน ซึ่งผู้ปฏิบัติจะเรียนรู้ Good Practice หรือ Best Practice ความริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดี การแก้ปัญหาที่ดี หรือเกิดจากการได้รับรู้ข้อเสนอแนะผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน หรือจะเป็นหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิธีกรใหม่ๆ ขึ้น หรือวิธีการที่ดีกว่าเดิม Good Practice หรือ […]

Read More »

ความหมายของ Technology Transfer

Technology Transfer หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  การถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นกระบวนการในการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว หรือสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันหรือแตกต่างกันออกไป โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้นจะต้องประกอบไปด้วยหลัก 3 อย่างคือ ประสบการณ์หรือองค์ความรู้ การมีความชำนาญในองค์ความรู้อย่างแท้จริง การนำองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์ให้เป็น รูปแบบของ Technology Transfer รูปแบบของการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีนั้นสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ คือ Intermediate goods (การถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านเครื่องจักรหรือสินค้าขั้นกลาง) Technology Transfer ลักษณะนี้กระบวนการต่างๆ จะมีความเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร หรือสินค้าที่ถูกผลิตมาจากเครื่องจักร ถือว่าเป็น Technology Transfer ที่ไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก Expert (การถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านผู้เชี่ยวชาญ) เป็น การถ่ายทอดทางเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม จึงทำให้พบเห็นได้บ่อยมากที่สุด ซึ่งการถ่ายทอดประเภทนี้จะมีประสิทธิภาพมากเพราะได้รับการถ่ายทอดจากผู้เชียวชาญโดยตรง ความผิดพลาดต่างๆ ก็มีน้อยลงไปด้วย การถ่ายทอดทางเทคโนโลยีที่ส่ง knowledge ผ่านทางเทคนิคต่างๆ การถ่ายทอดเทคโนโลยีประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องจักรหรือสินค้าขั้นกลาง หรือผู้เชี่ยวชาญใดๆทั้งสิ้น แต่ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจะต้องนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ประโยชน์ได้ ถึงแม้ว่าความหมายและประเภทของการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีอาจจะฟังดูมีความสมัยใหม่ แต่จริงๆแล้วหลักการพวกนี้ เมื่อนำมาเทียบกับการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีพื้นบ้าน ก็สามารถที่จะนำมาใช้ได้เช่นกัน เช่น การทำยาสมุนไพรต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เครื่องจักรในกระบวนการทำ ซึ่งสอดคล้องกับประเภทของการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ว่า Intermediate goods และการการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้เป็นที่รู้อย่างแพร่หลายในชุมชนใกล้เคียง […]

Read More »

ความหมายของการถ่ายทอดองค์ความรู้ หรือ Knowledge Transfer : KT

Knowledge Transfer คือขั้นตอนหนึ่งของ knowledge management เป็นการเรียกกระบวนการแบ่งปันความรู้ถูกถ่ายทอดจากคนหนึ่ง ไปยังอีกคน กลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่ม หรือจะเป็นจากองค์กรหนึ่งไปยังอีกองค์กร กล่าวคือเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้รู้ไปยังผู้ที่ต้องการความรู้ หรือการได้มาซึ่งความรู้ของผู้ที่ต้องการความรู้ Knowledge Transfer เป็นเหมือนการพิสูจน์อย่างหนึ่งการของการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร ที่ร่วมกันถ่ายทอดความรู้ของสมาชิก ในทุกๆ ระดับ ซึ่งในแต่ละระดับจะมีความรู้ ความสามารถ หรือข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป แต่ในทุกๆ ระดับต่างก็มีความสำคัญมากๆ สำหรับการพัฒนาองค์กร ซึ่งการถ่ายทอดความรู้จะทำให้ผู้ปฏิบัติยอมรับในการทำงานร่วมกันอย่างไม่มีข้อแม้ หรือเก็บความรู้เอาไว้แต่เพียงผู้เดียว ส่งผลให้องค์กรสามารถที่จะพัฒนาได้มากขึ้น กว่าการทำงานแบบต่างคนต่างทำ ซึ่งปัจจัยในการเกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นนอกจากระบบสารสนเทศที่มาอำนวยความสะดวกแล้ว องค์กรเองจะต้องมีการกำหนด preconditions หรือ เงื่อนไขต้องมีมาก่อน ซึ่งเงื่อนไขนี้จะมีประโยชน์ต่อองค์กรดังนี้ Preconditions ที่ช่วยส่งเสริม Knowledge Transfer พฤติกรรมการบริหารที่เอื้อต่อการแบ่งปันความรู้ในหมู่สมาชิกองค์กร หมายความว่าองค์กรจะต้องมีความจริงจังต่ออกระบวนการ Knowledge Transfer เช่น การสร้างค่านิยมจากรุ่นสู่รุ่น การสนับสนุนต่างๆ และดูแลให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ บอกถึงข้อดีและประโยชน์ของ Knowledge Transfer เพื่อให้บุคลากรเกิดความตระหนัก ที่สำคัญคือ ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้อง ต้องมีหาเวลาที่จะเดินเข้าไปหาลูกน้องเพื่อสอบถามความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้กัน […]

Read More »

ความหมาย Knowledge Management : KM หรือ การจัดการความรู้

Knowledge Management เป็นการรวบรวม จัดเรียง หรือสร้างองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ทั้งในตัวบุคคลและเอกสาร เพื่อให้คนภายในองค์กรสามารถที่จะเข้าถึงความรู้ หรือข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ได้ แล้วนำมาพัฒนาตัวเองและนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด Knowledge ในกรณีนี้ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ Tacit Knowledge คือความรู้ที่มีอยู่ในตัวของบุคคล เช่น ประสบการณ์ พรสวรรค์ สัญชาตญาณหรือไหวพริบของแต่ละคนในการที่จะทำความเข้าใจกับงานหรือข้อมูลต่างๆ ซึ่งความรู้พวกนี้ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดผ่านตัวอักษรออกมาได้ง่ายๆ จึงสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้แบบนามธรรม Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่ได้มาจากทฤษฏี คำนิยาม หรือคู่มือต่างๆ ที่ใครๆ ก็สามารถที่จะเข้าถึง หรือเรียนรู้ได้ สามารถที่จะถ่ายทอดผ่านวิธีการต่างๆได้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้แบบรูปธรรม Knowledge Management ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ในหลายๆองค์กรมักจะมีปัญหาต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น แต่เมื่อไรที่องค์กรมีการจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management ปัญหาต่างๆเหล่านี้ก็จะหมดไป เมื่อไรที่องค์กรมีการลาออกของบุคลากรหรือการเกษียณของบุคลากร งานของตำแหน่งนั้นๆ มักจะมีปัญหา เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถที่จะจัดการ หรือไม่สามารถที่จะหาผู้ที่เชี่ยวชาญด้านนั้นได้ บุคลากรบางคนมีความรู้มาก แต่คนอื่นๆ กลับไม่ให้ความสนใจที่จะเรียนรู้ […]

Read More »

ส่วนประกอบสำคัญของ Innovation และประเภทต่างๆ

Innovation หรือนวัตกรรม หมายถึงแนวคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำงานให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยInnovation สามารถแบ่งลักษณะออกได้ดังนี้ Radical Innovation (นวัตกรรมใหม่แบบสิ้นเชิง) หมายถึงการนำสิ่งใหม่เข้าสู่สังคมโลก เป็นเหมือนการเปลี่ยนค่านิยม หรือความเชื่อเดิมๆ ไปโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างนวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง ที่เกิดขึ้นในโลก เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นนวัตกรรมหนึ่ง ที่ทำลายค่านิยมแบบเดิมๆ ในการจำกัดข้อมูลข่าวสาร ซึ่งนวัตกรรมของอินเตอร์เน็ตนี้ช่วยทำลายค่านิยมเดิมๆไป อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันว่าการจะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารแต่ละอย่าง จะไม่ถูกจำกัดเหมือนก่อนหน้านี้แล้ว เราสามารถที่จะเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ทั้งสะดวก ประหยัดเวลา และทันใจ แถมยังมีความหลากหลายของข้อมูลอีกด้วย นวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นการค้นพบสิ่งใหม่ๆ โดยการใช้ความรู้หรือแนวคิดใหม่ๆ ที่มีการคิดค้นอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุดจึงเป็นในลักษณะของการสะสมการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ซึ่งนวัตกรรมลักษณะนี้จะพบได้ทั่วไปมากกว่านวัตกรรมใหม่แบบสิ้นเชิง ส่วนประกอบของ Innovation นวัตกรรมเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความต้องการหรือความปรารถนาใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นนักวิชาการ ผู้บริการ พนักงาน หรือแม้แต่คนทั่วๆไป จะมีการคิดและทำสิ่งใหม่ๆขึ้นอยู่ตลอด บางครั้งก็ทำไปโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว ซึ่งองค์ประกอบหลักของการจะนำมาสู่นวัตกรรมมีดังนี้ Problem เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ก็จะมีการแก้ไข หรือจัดการด้วยวิธีต่างๆ อาจจะแก้ด้วยวิธีการเก่าๆ หรือบางครั้งก็มีการสร้างวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาแก้ปัญหา จนทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา Improvement […]

Read More »